สำนักวิชาการวิทยาเขตสุรินทร์ โดยงานประกันคุณภาพการศึกษา กลุ่มงานวิจัยและคุณภาพการศึกษา จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ นิสิตกับการประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๗ ภายใต้โครงการ การประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ ในวันอาทิตย์ ที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๘ ณ ห้องประชุมพระธรรมโมลี ห้อง ๑๓๑ อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ๕๐ พรรษา วิทยาลัยสงฆ์สุรินทร์
รายละเอียดตามโครงการ/กิจกรรม ดังนี้..
กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นิสิต
ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๗ ภายใต้โครงการ
ประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘
๑. ชื่อโครงการ : การประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘
๒. ชื่อกิจกรรม : อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นิสิต ปีการศึกษา ๒๕๖๗
๓. ชื่อหน่วยงาน : สำนักวิชาการวิทยาเขตสุรินทร์
๔. ผู้รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรม : นายเขมกร อุส่าห์ดี
๕. โครงการเชื่อมโยงกับ : แผนพัฒนาวิทยาเขตสุรินทร์ ระยะที่ ๑๓ (พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๗๐)
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล
กลยุทธ์ที่ ๕.๓.๒ ส่งเสริมและพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล
กลยุทธ์ที่ ๕.๓.๓ ส่งเสริม สนับสนุนส่วนงานจัดการศึกษาเข้าสู่ระบบเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการ
ดำเนินการที่เป็นเลิศ
สป.อว. องค์ประกอบที่ ๑ การผลิตบัณฑิต
ตบช.ที่ ๑.๖ กิจกรรมนิสิตระดับปริญญาตรี
๖. หลักการและเหตุผล :
ในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับวิทยาเขต ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ ได้ให้ความสำคัญกับนิสิตในหลักสูตรเข้ามามีส่วนร่วมด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของนิสิตในด้านการศึกษา ติดตาม รับรู้การดำเนินงานประกันคุณภาพของวิทยาเขตสุรินทร์ ทั้งในระดับวิทยาเขต และระดับหลักสูตร ในส่วนที่เกี่ยวข้องและมีผลต่อนิสิตโดยตรงตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ ๕ ประการ ได้แก่ ๑) ด้านคุณธรรม จริยธรรม ๒) ด้านความรู้ ๓) ด้านทักษะทางปัญญา ๔) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และ ๕) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งด้านการบริการวิชาการแก่สังคมและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งนิสิตควรจะได้ทราบบทบาทในการที่จะเป็นส่วนส่งเสริมและสนับสนุนให้การดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับวิทยาเขต เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ดังนั้น สำนักวิชาการวิทยาเขตสุรินทร์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา จึงกำหนดจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นิสิต ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๗ เพื่อให้นิสิตทุกหลักสูตร ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ของวิทยาเขตสุรินทร์ ตามหลักการของการประกันคุณภาพการศึกษา มีทักษะในการดำเนินงานประกันคุณภาพและสร้างเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพทั้งภายใน และภายนอก รวมทั้งกระตุ้นส่งเสริมให้นิสิตมีส่วนร่วมในกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ของวิทยาเขตสุรินทร์ สามารถนำกระบวนการ PDCA ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการองค์กรของนิสิต และจัดทำโครงการ/กิจกรรมของนิสิต ต่อไป
๗. วัตถุประสงค์ :
๗.๑ เพื่ออบรมบรรยายให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพแก่นิสิต
๗.๒ เพื่อให้นิสิตฝึกปฏิบัติการ การพัฒนาองค์กรนิสิตในการดำเนินกิจกรรม/ โครงการ โดยกระบวนการ PDCA
๗.๓ เพื่อประเมินผลความรู้ของนิสิต
๘. กลุ่มเป้าหมาย
๘.๑ นิสิตระดับปริญญาตรี ทุกหลักสูตร ทุกสาขาวิชา จำนวน ๑๐๔ รูป/คน
๘.๒ ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ จำนวน ๑๐ รูป/คน
๙. ระยะเวลา
ในวันอาทิตย์ ที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๘
ณ ห้องประชุมพระธรรมโมลี ๑๓๑ ชั้น ๓ อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ๕๐ พรรษา วิทยาลัยสงฆ์สุรินทร์
๑๐. กิจกรรมในโครงการ
การบรรยายให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติการเขียนโครงการตามวงจรคุณภาพ PDCA
๑๑. วิธีดำเนินงาน
๑๑.๑ ขั้นเตรียมการ (Plan)
๑๑.๑ ประชุมคณะอนุกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อวางแผนการดำเนินงาน
๑๑.๒ เขียนกิจกรรมภายใต้โครงการฯ เพื่อขออนุมัติ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
๑๑.๓ จัดเตรียมสถานที่ และอุปกรณ์สำหรับใช้ในกิจกรรม
๑๑.๔ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมให้คณาจารย์และนิสิตได้ทราบโดยผ่านทางระบบสารบรรณ บอร์ดประชาสัมพันธ์ และ Website
๑๑.๒ ขั้นดำเนินการ (Do)
๑๑.๒.๑ การอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นิสิต โดย คณะวิทยากร ประกอบด้วย
๑) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรีอุบล อินทร์แป้น รองคณบดีฝ่ายบริหาร ม.เวสเทิร์น วข.บุรีรัมย์
๒) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนู ศรีทอง ผอ.หลักสูตร ค.ม. พุทธบริหารการศึกษา วข.สุรินทร์
๑๑.๒.๓ ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ ลงทะเบียน
๑๑.๒.๔ จัดทำตารางกำหนดการ การบรรยาย และฝึกปฏิบัติการ
๑๑.๓ ขั้นประเมิน (Check) และรายงานผล
๑๑.๓.๑ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ
๑๑.๓.๒ ประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม
๑๑.๓.๓ จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการ
๑๑.๔ ขั้นนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนา (Action)
๑๑.๔.๑ ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อนำผลการประเมินจากโครงการไปพัฒนาต่อ
๑๑.๔.๒ นำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนา รูปแบบการจัดกิจกรรม วิธีการของโครงการในปีต่อไป
๑๒. วิธีการวัดผลและประเมินผล
ประเมินความรู้และความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
๑๓. ตัวชี้วัดความสำเร็จ
๑๓.๑ จำนวนนิสิตผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
๑๓.๒ นิสิตมีผลการทดสอบความรู้ผ่านร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป
๑๓.๓ ผู้ร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในโครงการอยู่ในระดับมาก ร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป
๑๔. งบประมาณ :
รายละเอียดของการใช้งบประมาณ ถั่วเฉลี่ยทุกรายการดังนี้
๑๕. ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
๑๕.๑ นิสิตได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา
๑๕.๒ นิสิตสามารถนำความรู้เรื่องหลักการของระบบ PDCA ไปใช้ในการจัดกิจกรรม/โครงการ การเรียนการสอน และการใช้ชีวิตในการทำงาน
๑๕.๓ นิสิตสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปขยายผลต่อคนอื่นๆ ได้