องค์ประกอบที่ ๓ การบริการวิชาการแก่สังคม

การบริการทางวิชาการแก่สังคมเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยพึงให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน สังคมและประเทศชาติ ในรูปแบบต่างๆ ตามความถนัดและในด้านที่
มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญ เพื่อชี้นำสังคมไทยโดยเฉพาะการมุ่งพัฒนาจิตใจ สติปัญญา และพฤติกรรมของประชาชน เพื่อให้เกิดสันติสุขและความสามัคคีของคนในชาติ การให้บริการทางวิชาการอาจให้เปล่าโดยไม่คิด
ค่าใช่จ่ายหรืออาจคิดค่าใช้จ่ายตามความเหมาะสม โดยให้บริการทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หน่วยงานอิสระ หน่วยงานสาธารณะ ชุมชน และสังคมโดยกว้าง รูปแบบการให้บริการทางวิชาการมีความหลากหลาย
เช่น การอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ทรัพยากรของมหาวิทยาลัย เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ ให้คำปรึกษา ให้การอบรม จัดประชุมหรือสัมมนาวิชาการ ทำงานวิจัยเพื่อตอบคำถามต่างๆ หรือเพื่อชี้แนะสังคมโดยเฉพาะการมุ่ง
พัฒนาจิตใจ สติปัญญา และพฤติกรรมของประชาชน เพื่อให้เกิดสันติสุขและความสามัคคีของคนในชาติ การให้บริการทางวิชาการนอกจากเป็นการทำประโยชน์ให้สังคมแล้ว มหาวิทยาลัยยังได้รับประโยชน์ในด้าน
ต่างๆ คือ เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ของอาจารย์ อันจะนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตร มีการบูรณาการเพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย พัฒนาตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ สร้าง
เครือข่ายกับหน่วยงานต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งงานของนิสิตและเป็นการสร้างรายได้ของมหาวิทยาลัยจากการให้บริการวิชาการอีกด้วย
ประกอบด้วย ๓ ตัวบ่งชี้ คือ
ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๑ การบริการวิชาการแก่สังคม
ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๒ ผลการบริการวิชาการแก่สังคมที่เสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน
ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๓ บุคคลที่มีบทบาทหรือผลงานที่ได้รับการอ้างอิง