สถาบันอุดมศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ โดยมีสภามหาวิทยาลัยทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการทำงานของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ สถาบันอุดมศึกษาจะต้องบริหารจัดการด้านต่างๆ
ให้มีคุณภาพ เช่น การจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อนำความคิดเห็นไปใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงานของสถาบัน การ
ติดตามทบทวนและปรับปรุงแผน การประเมินความต้องการด้านอัตรากำลังและขีดความสามารถของบุคลากร การสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสม ระบบการบริหารงานบุคคลที่ส่งเสริมการนำศักยภาพของ
บุคคลมาใช้อย่างเต็มที่ และทำให้บุคลากรมีความสุขและมีความมั่นคงในอาชีพ มีการบริหารการเงินที่โปร่งใส มีการบริหารความเสี่ยง เพื่อสัมฤทธิผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยใช้หลักธรรมาภิบาล ( Good
Governance)
ประกอบด้วย ๗ ตัวบ่งชี้ คือ
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๑ การบริหารเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ วิทยาเขตและวิทยาลัย
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๒ ผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพหลักสูตรของคณะ วิทยาเขต และวิทยาลัย
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๓ ผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพของคณะ วิทยาเขตและวิทยาลัย
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๔ ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๕ ผลการดำเนินการเครือข่ายความร่วมมือในประเทศหรือต่างประเทศ
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๖ ความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๗ ผลงานทางวิชาการที่เกิดจากความร่วมมือกับเครือข่าย
หน้าแรก องค์ประกอบที่ ๕ การบริหารจัดการ