การวิเคราะห์แผนงานตามตัวบ่งชี้ และเกณฑ์มาตรฐานของการตรวจประเมินคุณภาพภายใน
จากคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ของสกอ. และ ตบช.เพิ่มเติม มจร
*************
การประกันคุณภาพการศึกษา (Quality assurance)
การประกันคุณภาพการศึกษา (Quality assurance) หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษา โดยมีกลไกในการควบคุม ตรวจสอบระบบการบริหารคุณภาพการศึกษาที่สถานศึกษาจัดขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชนว่า สถานศึกษานั้นสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และบรรลุเป้าประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแล (กฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑)
การประกันคุณภาพภายใน (Internal Quality Assurance : IQA) หมายถึง การประเมินผล และการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
การประกันคุณภาพภายนอก (External Quality Assurance : EQA) หมายถึง การประเมินผล และการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรองเพื่อเป็นการประกันคุณภาพ และให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
การตรวจประเมินคุณภาพภายใน Internal Quality Audit : IQA
การตรวจประเมินคุณภาพภายใน หมายถึง การตรวจสอบว่าการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของสถาบันมีประสิทธิภาพและได้สอดคล้องกับข้อกำหนดของระบบบริหารจัดการคุณภาพหรือไม่ มีจุดบกพร่องในเรื่องใด เพื่อหาทางแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานต่อไป การตรวจสอบนี้ ต้องดำเนินการอย่างเป็นอิสระ มีความจริงใจในการวิพากษ์วิจารณ์ให้คำแนะนำ เพื่อให้การทำกิจกรรมต่าง ๆ ของสถาบันเป็นไปตามข้อกำหนดและทราบข้อมูลจริงในการแก้ไขข้อบกพร่องต่อไป
แผน (Plan) ทุกตัวบ่งชี้ ต้องกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี
องค์ประกอบที่ ๑ การผลิตบัณฑิต
ตัวบ่งชี้ ๑.๖ กิจกรรมนิสิตระดับปริญญาตรี
เกณฑ์ข้อ ๑ จัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานิสิตในภาพรวมของวิทยาเขต โดยให้นิสิตมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและการจัดกิจกรรม
๑. แผนการจัดกิจกรรมพัฒนานิสิต
องค์ประกอบที่ ๒ การวิจัย
ตัวบ่งชี้ ๒.๑ ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์
คำอธิบายตัวบ่งชี้ สถาบันอุดมศึกษาต้องมีการบริหารจัดการงานวิจัยงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพโดยมีแนวทางการดำเนินงานที่เป็นระบบและกลไกส่งเสริมสนับสนุนครบถ้วนเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดไว้
๒. แผนงานการวิจัย
องค์ประกอบที่ ๓ การบริการวิชาการ
ตัวบ่งชี้ ๓.๑ การบริการวิชาการแก่สังคม
เกณฑ์ข้อ ๑ จัดทำแผนบริการวิชาการประจำปีที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและกำหนดตัวบ่งชี้ วัดความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการแก่สังคมและเสนอกรรมการประจำคณะ วิทยาเขต หรือวิทยาลัย เพื่อพิจารณาอนุมัติ
๓. แผนงานบริการวิชาการ
องค์ประกอบที่ ๔ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ตัวบ่งชี้ ๔.๑ ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ข้อ ๒ จัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน
๔. แผนงานทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
องค์ประกอบที่ ๕ การบริหารจัดการ
ตัวบ่งชี้ ๕.๑ การบริหารของคณะเพื่อกำกับติดตามผลลัพธ์ตาม พันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ
เกณฑ์ข้อ ๑ พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะ วิทยาเขตหรือวิทยาลัย และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ วิทยาเขตหรือวิทยาลัย มหาวิทยาลัย รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะ วิทยาเขตหรือวิทยาลัย และพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลา เพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาอนุมัติ
๕. แผนกลยุทธ์ / แผนพัฒนาวิทยาเขต
๖. แผนกลยุทธ์ทางการเงิน
๗. แผนปฏิบัติการประจำปี
เกณฑ์ข้อ ๓ ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะ วิทยาเขตหรือวิทยาลัย และให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม
๘. แผนบริหารความเสี่ยง
เกณฑ์ข้อ ๕. ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
๙. แผนการจัดการความรู้ (KM)
เกณฑ์ข้อ ๖ การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
๑๐. แผนการบริหารบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
๑๑. แผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
เกณฑ์ข้อ ๗ ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะ วิทยาเขตหรือวิทยาลัย ที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะ วิทยาเขตหรือวิทยาลัย ตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
๑๒. แผนกิจกรรมการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา ตามตัวบ่งชี้
๑๓. แผนพัฒนาคุณภาพ (Improvement Plan) จากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน
ดาวน์โหลดตัวอย่างแผนแยกย่อย /รายงานผลแผน